การอ่านข่าว

  ก่อนจะเริ่มฝึกอ่านข่าวภาษาอังกฤษกัน  มีข้อควรรู้และเทคนิคบางอย่างดังนี้

1.  เราควรมีพื้นฐานศัพท์มาพอสมควรแล้ว เนื่องจากในข่าวมีการใช้คำศัพท์ที่หลากหลายมาก  แต่ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไร
ในบล็อกนี้ได้รวบรวมคำศัพท์และจัดแบ่งหมวดหมู่พร้อมให้คุณได้เรียนรู้แล้ว

2.  ต้องรู้จักรูปแบบของข่าว หรือ News Form เสียก่อน  จะทำให้สามารถอ่านข่าวได้อย่างเข้าใจ

3.  เริ่มอ่านจากข่าวสั้นๆ ง่ายๆ ก่อน  โดยเฉพาะข่าวในท้องถิ่น หรือข่าวภายในประเทศ  เพื่อสร้างกำลังใจในการอ่านให้
ตนเอง และเป็นพื้นฐานในการอ่านข่าวระดับสูงขึ้นไป

4.  การอ่านหนังสือพิมพ์ที่ดี ต้องรู้จักใช้บริบทในการแปลศัพท์ พยายามอย่าใช้พจนานุกรม (dictionary) ช่วยแปล

5.  ใช้หนังสือพิมพ์ภาษาไทยประกอบ

6.  พยายามหา main subject และ main verb เพื่อจะได้เข้าใจจุดมุ่งหมายหรือใจความ (main idea) ของข่าว

7.  ที่สำคัญ…  ต้องฝึกอ่านทุกวัน  เพียงวันละ 10-15 นาที  แล้วคุณจะรู้สึกได้ว่าคลังคำศัพท์ในหัวคุณได้เพิ่มขึ้น และ
คุณสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

แหล่งอ้างอิง : Terry Fredrickson and Paul F. Wedel.  ENGLISH BY NEWSPAPER.  Bangkok : Allied Printers. 
http://smartenglishcenter.igetweb.com/index.php?mo=3&art=450894

 รูปแบบของข่าว (News Form)  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. Headline – ข่าวพาดหัว
(ในบางข่าวอาจมี Sub-Headline  ข่าวพาดหัวย่อย ก็ได้)

2. Lead – ข่าวนำ

3. Story/Body – เนื้อข่าว

 

แหล่งอ้างอิง : www.kpsw.ac.th/teacher/…/ใบความรู้เรื่องรูปแบบของข่าว.doc
Terry Fredrickson and Paul F. Wedel.  ENGLISH BY NEWSPAPER.  Bangkok : Allied Printers.
ไกรคุง และ กรรณิการ์ อนัคฆกุล. Comprehensive ENGLISH for Entrance. กรุงเทพฯ : หจก. สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

1. Headline (พาดหัวข่าว)

เป็นส่วนที่ดึงดูดใจผู้อ่านข่าวได้มากที่สุด มีลักษณะสะดุดตา โดยใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าข่าวนำ (Lead) และเนื้อเรื่องของข่าว (Story) ลักษณะการเขียนพาดหัวข่าวมีลักษณะสำคัญ 6 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ

•  รูปกริยาทั่วไปที่ใช้จะอยู่ในรูปของ Present Tense  เช่น

•  ข่าวพาดหัว จะละ Article และ Verb to be ไว้ และใช้เครื่องหมายวรรคตอน (Puntuations) ต่างๆ
เช่น ใช้ Comma ( , ) แทนคำว่า and ดังตัวอย่าง

ประโยคเต็มคือ Over 600 people were killed in china earthquake.
ประโยคเต็มคือ A volunteer and a terrorist are killed in an ambush

             * ความรู้เพิ่มเติม :> เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation)

 

แหล่งอ้างอิง : www.kpsw.ac.th/teacher/…/ใบความรู้เรื่องรูปแบบของข่าว.doc
Terry Fredrickson and Paul F. Wedel.  ENGLISH BY NEWSPAPER.  Bangkok : Allied Printers.
ไกรคุง และ กรรณิการ์ อนัคฆกุล. Comprehensive ENGLISH for Entrance. กรุงเทพฯ : หจก. สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

* การละ article และ verb to be นี้เอง ทำให้พาดหัวข่าวโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นประโยคไม่สมบูรณ์ เพื่อประหยัดเนื้อที่และให้ได้ใจความกระชับ กริยาแท้จึงไม่มี แต่ใช้ infinitive, participle และ gerund เขียนแทน

 (1)  ข่าวพาดหัวที่ใช้รูป Infinitive
เมื่อใช้กริยารูป to + verb จะมีความหมายเป็นเหตุการณ์ในอนาคต (to be going to)

(2)   ข่าวพาดหัวที่ใช้รูป Past Participle หรือลงท้ายด้วย –ed
                    เมื่อใช้คำกริยาที่ลงท้ายด้วย – ed หรือเป็นกริยาช่องที่ 3 จะมีความหมายแบบ Passive voice

  (3) ข่าวพาดหัวที่ใช้รูป Present Participle

 (4) ข่าวพาดหัวที่ใช้รูป Gerund

 

 

แหล่งอ้างอิง : www.kpsw.ac.th/teacher/…/ใบความรู้เรื่องรูปแบบของข่าว.doc
Terry Fredrickson and Paul F. Wedel. ENGLISH BY NEWSPAPER. Bangkok : Allied Printers.
ไกรคุง และ กรรณิการ์ อนัคฆกุล. Comprehensive ENGLISH for Entrance. กรุงเทพฯ : หจก. สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

•  ข่าวพาดหัวแบบตั้งคำถาม

ประโยคคำถามที่ใช้ในข่าวพาดหัวแบบนี้ ไม่ได้เป็นประโยคคำถามที่ใช้ทั่วๆไป แต่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า ต่อท้ายด้วยเครื่องหมายคำถาม ?  เครื่องหมายคำถามจะใช้เมื่อ

(1)  เดาว่าอาจเกิดเหตุการณ์นั้นในอนาคต  เช่น

 (2)  ต้องการแสดงความสงสัยในข่าวนั้นว่าเป็นจริงหรือไม่ หรือถูกต้องหรือไม่ เช่น

 

 

แหล่งอ้างอิง : www.kpsw.ac.th/teacher/…/ใบความรู้เรื่องรูปแบบของข่าว.doc
Terry Fredrickson and Paul F. Wedel. ENGLISH BY NEWSPAPER. Bangkok : Allied Printers.
ไกรคุง และ กรรณิการ์ อนัคฆกุล. Comprehensive ENGLISH for Entrance. กรุงเทพฯ : หจก. สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น. _______________________________________________________________________________________________________

  •  ข่าวพาดหัวที่อ้างถึงคำพูด
*ข้อสังเกต  คำพูดที่ยกมา ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายอัญประกาศ ( “             ” ) กำกับเสมอไป

คำพูดที่ยกมาใช้พาดหัวข่าว อาจเป็นคำกล่าวหาก็ได้   เช่น

ข่าวพาดหัวนี้ไม่ได้หมายความว่า จีนกำลังวางแผนจะทำสงครามกับเวียดนาม
แต่ข่าวเพียงแต่บอกว่า เวียดนามกล่าวหาว่าจีนวางแผนจะทำสงครามกับตนอีกครั้ง

 

 

แหล่งอ้างอิง : www.kpsw.ac.th/teacher/…/ใบความรู้เรื่องรูปแบบของข่าว.doc
Terry Fredrickson and Paul F. Wedel. ENGLISH BY NEWSPAPER. Bangkok : Allied Printers.
ไกรคุง และ กรรณิการ์ อนัคฆกุล. Comprehensive ENGLISH for Entrance. กรุงเทพฯ : หจก. สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ใส่ความเห็น